Who We Are ?

about us

แผนกส่งเสริมสุขภาพและเวชกรรมป้องกัน โรงพยาบาลค่ายสุรนารี
ลักษณะของงานเป็นการดำเนินงานแบบผสมผสานในการใช้เทคนิควิชาการและบริการเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพการควบคุมป้องกันโรคและระบาดวิทยาพื่อให้บริการสาธารณสุขแบบผสมผสานในชุมชนตั้งแต่บุคคลครอบครัว ตลอดจนกระทั่งในชุมชน ประการสำคัญทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานกับงานในกลุ่มงานเวชกรรม สังคม และฝ่ายต่างๆทั้งภายในโรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆเพื่อให้บริการประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงผู้พิการและกลุ่มด้อยโอกาสให้จัดการดำเนินงานในเชิงรุก

แผนผังบุคลากรในแผนก


การบริการ

หน้าที่และเป้าหมาย
        กองเวชกรรมป้องกัน รพ.ค่ายสุรนารี มีหน้าที่ดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค และคุ้มครองสุขภาพกำลังพลและ ประชาชนให้ปลอดภัยจากอันตรายจากการทำงาน สามารถกำหนดตามระดับของการป้องกันเป็น การป้องกันขั้นปฐมภูมิ (health promotion & specific protection) การป้องกันทุติยภูมิ (early diagnosis & prompt treatment) และการป้องกันขั้นตติยภูมิ (disability limitation) หากแต่การกำหนดขอบเขตของงานเวชกรรมป้องกันเพื่อให้เห็นเนื้องานที่เด่นชัดสามารถนำ 14 องค์ประกอบของการสาธารณสุขมูลฐานมาประยุกต์ งานสาธารณสุขมูลฐานประกอบด้วย 14 องค์ประกอบ ได้แก่
- งานโภชนาการชุมชน (N = Nutrition)
- งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ความรู้เพื่อการป้องกันโรค (E = Education)
- การสุขาภิบาลทั่วไปและน้ำ (W = Water Supply and Sanitation)
- การควบคุมป้องกันโรคที่เป็นปัญหาชุมชน (S = Surveillance for Local Disease Control)
- การให้บริการวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมาย (I = Immunization)
- การจัดรักษาพยาบาลพื้นฐานชุมชน (T = Simple Treatment)
- การจัดบริการยาพื้นฐานชุมชน (E = Essential Drugs)
- การอนามัยแม่และเด็ก (M = Maternal and Child Health)
- การแก้ปัญหาสุขภาพจิตชุมชน (M = Mental Health)
- ทันตสุขภาพชุมชน (D = Dental Health)
- การอนามัยสิ่งแวดล้อม (E = Environmental Health)
- การคุ้มครองผู้บริโภค (C = Consummer Protection)
- การป้องกันอุบัติเหตุและโรคไม่ติดต่อชุมชน (A = Accidental and Non-communicable Disease Control)
- การป้องกันโรคเอดส์ (A = AIDS)
สำหรับการสาธารณสุขมูลฐานมีกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักสำคัญดำเนินการ ไดแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.)(นิยามการสาธารณสุขมูลฐาน : การที่จะขยายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมประชากรให้ได้มากยิ่งขึ้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำเอาประชากรเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสาธารณสุขของชุมชน และใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยวิธีการหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทั้งนี้โดยประสานความคิดความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างใกล้ชิด ในรูปแบบของอาสาสมัครสาธารณสุขโดยรัฐให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ) แต่ทั้งนี้ขอบเขตของงานเวชกรรมป้องกันในกองทัพเรือ พิจารณาตามบริบทของหน่วยทหารเรือ องค์ประกอบงานของสาธารณสุขมูลฐาน และ โครงสร้างของหน่วยเวชกรรมป้องกันในกองทัพเรือ ประกอบด้วยงานที่สำคัญ ได้แก่
- การสุขาภิบาลหน่วยบก
- การสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ความรู้เพื่อการป้องกันโรค รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ (การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และ การออกกำลังกาย)
- งานอาชีวอนามัยในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเสี่ยงอันตราย
- การโภชนาการ อาหารปลอดภัย และคุ้มครองผู้บริโภค
- การพัฒนามาตรฐานและบริการทดสอบสมรรถภาพทางกาย
- การจัดบริการตรวจสุขภาพประจำปี (early diagnosis & prompt treatment)
- งานควบคุมป้องกันโรคเอดส์
- งานอนามัยชุมชนครอบครัวทหาร
- งานการควบคุมป้องกันโรคที่เป็นปัญหาในพื้นที่ทหารเรือและโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข
- การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่


กิจกรรมค่ายเยาวชน"กล้าดี" ณ สวนสัตว์นครราชสีมา
กิจกรรมวันสงกรานต์ 57
กิจกรรมทำบุญแผนก

Latest Update

News Two
อีโบล่า ไวรัส

เป็นคำสามัญที่ใช้กับทั้งกลุ่มของไวรัสที่อยู่ในสกุล อีโบราไวรัส (Ebolavirus) วงศ์ ฟิโลไวลิเดอี (Filoviridae)..

July 23, 2014
News Two
โรคเลปโตสไปโรซิส

โรคเลปโตสไปโรซิสเป็นโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน (Zoonotic Disease)" ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด..

July 23, 2014
View All