อีโบล่า ไวรัส

Image

     อีโบล่าเป็นคำสามัญที่ใช้กับทั้งกลุ่มของไวรัสที่อยู่ในสกุล อีโบราไวรัส (Ebolavirus) วงศ์ ฟิโลไวลิเดอี (Filoviridae) และใช้กับโรคที่ไวรัสชนิดนี้ก่อขึ้นคือโรค "ไข้เลือดออกอีโบลา" (Ebola hemorrhagic fever)

     ลักษณะของไวรัสจะเป็นรูปเส้นยาวล้อมด้วยลิปิดหรือไขมันตัวห่อหุ้มไวรัส (viral envelope) ไวรัสอีโบลามีรูปลักษณะคล้ายคลึงกับไวรัสมาร์เบิร์ก (Marburg virus) ซึ่งอยู่ในวงศ์ฟิโลไวลิเดอีเช่นเดียวกัน และยังมีอาการของโรคคล้ายคลึงกันด้วย โรคระบาดอีโบลาสร้างปัญหาที่หนักและร้ายแรงและเป็นที่กล่าวขวัญมากกันที่สุดนับตั้งแต่เมื่อถูกค้นพบในการระบาดครั้งแรก รวมทั้งการถูกนำไปทำภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญ

banner

     เชื่อว่าอีโบลาเป็นไวรัสประเภทซูโนติก (zoonoticvirus -ผ่านจากสัตว์ไปยังคน) แม้องค์การอนามัยโลกจะได้พยายามอย่างหนักก็ยังไม่สามารถบอกได้โดยชัดเจนว่าสัตว์ชนิดใดเป็นตัวพาหะคาดเพียงว่าน่าจะเป็นค้างคาวประเภทกินผลไม้
     เนื่องจากยังไม่อาจทราบได้ว่าสัตว์ชนิดใดเป็นพาหะของไวรัส องค์การอนามัยโลกจึงวางมาตรการเข้มงวดกำหนดให้จัดไวรัสอีโบลาไว้เป็น "ความปลอดภัยชีวภาพ ระดับ 4" (Biosafety Level 4) ซึ่งจะต้องจัดการห่อหุ่มในการขนย้ายและจัดเก็บด้วยความระมัดระวังอย่างสูง
ไข้เลือดออกอีโบลามีความร้ายแรงถึงเสียชีวิตเนื่องจากยังไม่มีวัคซีนที่สามารถใช้ป้องกันและรักษาได้ นอกจากถูกจัดด้านการระมัดระวังไว้ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพไว้ที่ระดับ 4 แล้ว อีโบลา ยังถูกจัดเป็นตัวการที่อาจใช้ "ก่อการร้ายทางชีวภาพประเภท ก" (Category A bioterrorism) อีกด้วย โดยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค ขององค์การอนามัยโรคด้วย ไวรัสอีโบลามีศักยภาพที่จะนำมาใช้พัฒนาเป็นอาวุธได้ในสงครามชีวภาพทั้งโดยฝ่ายสหภาพโซเวียตและสหรัฐฯ ประสิทธิภาพของอีโบลาได้แก่ความร้ายแรงที่สูงมากและความรวดเร็ว ซึ่งอาจใช้กับหมู่บ้านเล็กๆ หรือโรงพยาบาลซึ่งเมื่อฆ่าประชากรทั้งหมดก็จะเผาทำลายให้หยุดก่อนระบาดเข้าไปในชุมชนที่ใหญ่
1. ที่มาของเชื้ออีโบล่า เชื้ออีโบล่าเป็นเชื้อไข้เลือดออกที่พบในทวีปแอฟริกา รู้จักเมื่อมีการระบาดครั้งแรกที่ประเทศซาอีร์ และเชื้อที่มีลักษณะคุณสมบัติคล้ายเชื้ออีโบล่าจัดอยู่ในสกุลไฟโลไวรัสนี้ เคยรู้จักมาก่อนตั้งแต่ปีพ.ศ.2510 โดยพบว่าผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลิง ฆ่าลิงเพื่อนำไตลิงมาใช้เป็นเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการไวรัส ที่เมืองมาร์บวร์ก, แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และเมืองเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันคือประเทศเซอเบีย) ล้มป่วยมีอาการไข้เลือดออกในเวลาใกล้เคียงกัน รวมผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากลิง 25 คน และมีผู้ใกล้ชิดติดเชื้อจากผู้ป่วยอีก 6 คน การติดเชื้อเข้าใจว่าเกิดจากสัมผัสกับเลือดและเนื้อเยื่อของลิพันธุ์แอฟริกาเขียว (African green monkeys) ที่สั่งซื้อมาจากประเทศยูกันตา ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากลิงอัตราตายร้อยละ 28 เชื้อที่แยกได้นี้จึงเรียกว่า เชื้อมาร์บวร์ก (Marburg virus)
      ในปี พ.ศ.2518 พบในนักท่องเที่ยว 1 รายที่ได้รับเชื้อมาร์บวร์กจากประเทศซิมบับเว ผู้ป่วยเสียชีวิต และแพร่เชื้อให้กับเพื่อนและพยาบาลที่ดูแล banner
     ในปี พ.ศ.2519 มีรายงานโรคระบาดไข้เลือดออกจากเชื้ออีโบล่าในโรงพยาบาล ประเทศซาอีร์ มีผู้ป่วย 277 คน อัตราตายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ การติดเชื้อเกิดในโรงพยาบาลโดยใช้เข็มฉีดยาและเครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อในปีเดียวกันพบการระบาดในประเทศซูดาน ผู้ป่วยรายแรกพบทำงานในโรงงานทำฝ้าย พบผู้ป่วย 280 คน อัตราตายร้อยละ 53 การติดต่อพบในโรงพยาบาลและการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว
     ในปี พ.ศ.2520 มีรายงานผู้ป่วยเด็ก 1 รายในซาอีร์ ตายด้วยโรคไข้เลือดออกอีโบล่า สายพันธุ์ซาอีร์
     ในปี พ.ศ.2522 มีรายงานระบาดในประเทศซูดาน เริ่มจากโรงงานทอฝ้ายเดิม พบผู้ป่วย 34 คน อัตราตายร้อยละ 65
     ในปี พ.ศ.2523 วิศวกรชาวฝรั่งเศสตายด้วยโรคไข้เลือดออกจากเชื้อมาร์บวร์กที่ประเทศ เคนยา และหมอที่ดูแลติดเชื้อ แต่ไม่ตาย
     ในปี พ.ศ.2530 พบผู้ป่วย 1 ราย เป็นชาวเดนมาร์ก ติดเชื้อมาร์บวร์กหลังไปเยี่ยมบิดามารดาที่ประเทศเคนยา ผู้ป่วยเสียชีวิต
     ในปี พ.ศ.2532 พบเชื้ออีโบล่าสายพันธุ์ใหม่ในลิงที่ส่งไปเลี้ยงเพื่อทดลองที่เมืองเวสตัน รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ลิงที่ป่วยเป็นโรคนี้เป็นลิงพันธุ์ไซโนมอลกัส มาเคกส์ (cynomolgus macaques) ที่สั่งซื้อจากประเทศฟิลิปปินส์ พบเชื้อไวรัสอีโบล่าในเซลล์เพาะเลี้ยงที่แยกเชื้อจากลิง แต่มีลักษณะแอนติเจนต่างจากที่พบในประเทศซาอีร์และซูดาน
     การระบาดครั้งนี้แพร่ไปยังห้องต่าง ๆ ที่เลี้ยงลิง ลิงตายจำนวนมาก ทางติดต่อในลิง ไม่ทราบแน่ชัด อาจติดมาก่อน หรือติดโดยการใช้หลอดฉีดยา ทดสอบทูเบอร์คูลินที่เปลี่ยนเข็ม เมื่อฉีดลิงแต่ละตัว แต่ไม่ได้เปลี่ยนหลอดฉีดยาหรือติดทางอื่น อย่างไรก็ตาม ในการสั่งลิงอีกหลายครั้งต่อมาจากฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ.2533 พบลิงตายโดยเชื้ออีโบล่าอีก และตรวจพบแอนติบอดีในซีรั่มลิงที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และพบในซีรั่มคนที่ดูแลจับและเลี้ยงลิงเหล่านี้ด้วย
     ลิงที่ป่วยมีอาการน้ำมูกไหลและพบเชื้อได้ในสารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจ จึงคาดว่าการติดต่อจากลิงไปยังลิง หรือลิงมายังคนสามารถติดต่อได้ทางละอองฝอย ต่างจากที่พบในการติดต่อของเชื้อมาร์บวร์กหรืออีโบล่า ที่ติดต่อโดยการสัมผัส กับเลือดหรือสารคัดหลั่งเนื่องจากการระบาดของอีโบล่าสายพันธุ์เรสตันในลิง ตึกที่ทำการเลี้ยงลิงจึงถูกสั่งปิดทำลายเชื้อ และปล่อยเป็นตึกร้าง ในเวลานี้การระบาดครั้งนี้ไม่พบการติดต่อทำให้เกิดโรคในคน แต่จากการตรวจเลือดในผู้ดูแลใกล้ชิดกับลิงพบว่ามีแอนติบอดี แสดงว่ามีการติดเชื้อมาสู่คนได้
2. การระบาดของไข้เลือดออกอีโบล่าครั้งล่าสุดเริ่มเมื่อใด การระบาดของอีโบล่าครั้งล่าสุด น่าจะเกิดมาตั้งแต่ต้นปีนี้ แต่ผู้ป่วยที่ได้รับความสนใจว่าเป็นอีโบล่ารายแรก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการวัย 36 ปีของโรงพยาบาลเล็ก ๆ ในเมืองคิควิต ที่ป่วยเมื่อวันที่ 4 เดือนเมษายน 2538 เขามีอาการไข้สูง ปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด แพทย์เข้าใจว่าน่าจะเกิดจากลำไส้ทะลุ จึงผ่าตัดเปิดช่องท้องเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2538 พบลำไส้เปื่อยและมีเลือดออกเต็ม ไม่สามารถทำอะไรได้ ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมา
      ในวันที่ 14 เมษายน 2538 พยาบาลซึ่งเป็นแม่ชีอิตาลีซึ่งดูแลผู้เสียชีวิตรายแรก เริ่มมีอาการป่วยและมีการติดต่อยังบุคลากรในโรงพยาบาลหลายคน ทำให้สงสัยว่ามีการระบาดของโรคอีโบล่าประเทศสหรัฐอเมริกาและองค์การอนามัยโลก ได้รับคำขอความช่วยเหลือด่วนจากรัฐบาลซาอีร์ เมื่อวันเสาร์ที่ 6 และวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม 2538 จึงส่งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ จากศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา สถาบันปาสเตอร์ ปารีส ฝรั่งเศส และสถาบันไวรัสที่โจฮันเนสเบอร์ก แอฟริกาใต้เดินทางพร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ไปยังเมืองคิควิต เพื่อให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย วิธีการป้องกันการติดเชื้อ การทำลายเชื้อ และพยายามควบคุมการระบาดให้ได้
     เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2538 คณะผู้เชี่ยวชาญได้เก็บตัวอย่างตรวจต่าง ๆ คือ เลือดและอวัยวะภายในส่งไปยังศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เพื่อตรวจหาเชื้อและสามารถยืนยันได้ว่า เชื้อต้นเหตุคือ อีโบล่า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม
     คณะขององค์การอนามัยโลก ทำงานด้วยความยากลำบาก เพราะความขาดแคลนทรัพยากรของประเทศ เมื่อไปเยี่ยมโรงพยาบาลก็พบสภาพของผู้ป่วย ญาติ และผู้เสียชีวิตนอนอยู่ในห้องเดียวกัน ไม่มีน้ำประปา ไฟฟ้า และอุปกรณ์เวชภัณฑ์ต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องปรับสภาพโรงพยาบาลให้ได้มาตรฐานของการรักษาพยาบาล ทำความสะอาดห้องผู้ป่วย จัดหาถุงมือ เสื้อคลุม ผ้าปิดปากและจมูก ทั้งนี้โดยได้รับความช่วยเหลือจากร้านขายยาในเจนีวา และหน่วยงานแพทย์ไร้พรหมแดน จากเบลเยี่ยม
     คณะสืบสวนจำเป็นต้องติดตามผู้ป่วย ผู้สัมผัสโรค เพื่อศึกษาวิธีการติดต่อ และการควบคุมโรค โดยได้สร้างทีมนักศึกษาแพทย์ในการค้นหาผู้ป่วย และพบว่าผู้ป่วยรายแรกน่าจะเป็นหญิงสาววัย 18 ปี ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรในโรงพยาบาลที่คิควิตเมื่อปลายเดือน มีนาคม หลังกลับบ้าน หญิงผู้นี้เสียชีวิตด้วยอาการเลือดออก ต่อมาพ่อแม่ที่อยู่บ้านเดียวกันก็เสียชีวิต ตามด้วยลูกสาว 1 คน ลูกชาย 2 คน และพยาบาลที่ช่วยดูแล หลังจากนั้นก็มีคนเสียชีวิตตามมาอีกหลายบ้านในหมู่บ้านนั้น
3. รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไข้เลือดออกอีโบล่า ลักษณะอาการคล้ายไข้เลือดออกจากเชื้อไวรัสตัวอื่น คือ มีอาการเฉียบพลัน ไข้สูง ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน เป็นอาการนำ และต่อมามีอาการเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายอาการที่แตกต่างจากเชื้อไข้เลือดออกอื่น คือ อาการท้องเดิน ปวดท้อง การวินิจฉัยมักบอกได้ขั้นต้นว่า เป็นไข้เลือดออก แต่ถ้าสงสัยว่าเป็นอีโบล่า ต้องดูประวัติว่าสัมผัสกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ หรือเดินทางมาจากดินแดนที่ระบาดหรือไม่
banner 4. การศึกษาทางห้องปฏิบัติการ ทำได้อย่างไร ในขณะนี้แนะนำให้ทำการศึกษาทางห้องปฏิบัติการ ในห้องที่มีระบบป้องกันรักษาความปลอดภัยจากการติดเชื้อสูงสุด ถ้าสงสัยให้เจาะเลือดและตัวอย่างตรวจเก็บในหลอดปิดสนิท ใส่กล่องบรรจุที่กันกระเทือน ป้องกันไม่ให้แตกและรั่วไหลหลายชั้น และติดต่อส่งยังศูนย์ป้องกัน และควบคุมโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา
5. แหล่งแพร่เชื้ออีโบล่าอยู่ที่ไหน ยังไม่ทราบ เพราะยังไม่สามารถตรวจหาต้นตอได้ แต่การที่พบเชื้อสายพันธุ์มาบวร์กและเรสตันในลิงทำให้สงสัยว่ามีการติดเชื้อนี้ในลิง ในการสืบสวนการระบาดที่ผ่านมาได้พยายามตรวจหาแอนติบอดีในสัตว์หลายชนิด ทั้งลิง สัตว์แทะ หนู ตะเภา ค้างคาว แม้จะพบว่าแอนติบอดีในสัตว์บางประเภท และในคนที่อาศัยในบริเวณที่มีการระบาด แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า แหล่งแพร่โรคอยู่ที่ใด แต่จากลักษณะการระบาดที่ติดต่อจากคนไปสู่คน ซึ่งมีระยะเวลาสั้น อาการโรครุนแรงน้อยลง บ่งในทางที่ว่าโรคนี้น่าจะมีแหล่งแพร่เชื้อธรรมชาติอยู่ในสัตว์ แต่จะเป็นสัตว์ชนิดใดยังต้องค้นหาต่อไป
6. อีโบล่าจะแพร่กระจายโดยการเดินทางไปทั่วโลกหรือไม่ อันที่จริงอีโบล่าติดต่อได้ไม่ง่าย ผู้ที่ติดจากผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย โรคนี้มีระยะฟักตัว 2-21 วัน ผู้ป่วยที่มีอาการเท่านั้นที่มีไวรัสจำนวนมากที่จะติดต่อไปยังผู้สัมผัสใกล้ชิด การป้องกันตนเองโดยใส่ถุงมือ เสื้อคลุม และผูกผ้าปิดปากและจมูก ช่วยลดการติดเชื้อได้มาก และที่สำคัญที่สุดคือ มาตรฐานของการรักษาพยาบาล มาตรการการระมัดระวังไม่ให้ติดเชื้อในตึกผู้ป่วย ในห้อง ปฏิบัติการจากขยะสิ่งปฏิกูล แนะนำการฝังหรือการเผาศพโดยพยายามแตะต้องศพน้อยที่สุด
     การระบาดครั้งนี้คงจะสิ้นสุดเร็ว ๆ นี้ เพราะไม่พบการติดต่อไปยังเมืองหลวงกินชาซา ซึ่งห่างจากคิควิตเพียง 400 กิโลเมตร ผู้ที่เดินทางจากซาอีร์ไปยังประเทศต่าง ๆ รวมถึงญาติ คณะพยาบาลแม่ชีกลับไปอิตาลี หลังเกิดเหตุ และชายชาวซาอีร์ที่มางานศพมารดาที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้และกลับไปแคนาดา ไม่พบว่ามีผู้ใดติดเชื้อในขณะนี้
7. ถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการ การสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกอีโบล่า ควรปฏิบัติอย่างไร จะมีแนวทางในการดำเนินงานสืบสวนโรคและป้องกันการระบาดอย่างไรถ้าพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าน่าจะเป็นไข้เลือดออก ควรแนะนำให้ไปโรงพยาบาล เพื่อแพทย์จะได้ให้การดูแลรักษาได้ทันท่วงที ถ้าผู้ป่วยมีประวัติเดินทางจากประเทศในแอฟริกา จงนึกถึงเชื้อที่พบในแอฟริกา คือ อีโบล่า ลาซซ่า และอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เชื่อว่านักท่องเที่ยวทั่วไปไม่คิดเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ ผู้ที่จะติดเชื้อคือชาวพื้นเมืองที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และนักเดินทางที่ไปอาศัยอยู่คลุกคลีกับชาวพื้นเมืองในหมู่บ้านมาตรการที่ใช้สำหรับป้องกันโรคติดเชื้อทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการได้สัมผัสเลือด หรือสิ่งปฏิกูลที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางของมีคม หรือเข็มฉีดยา หรือบาดแผล หรือทางเยื่อเมือก ไม่พบว่าติดจากคนไปสู่คนทางการหายใจ
     อย่างไรก็ตาม เชื้อนี้เพาะเลี้ยงง่ายในห้องปฏิบัติการ การที่มีเชื้อจำนวนมากอาจติดทางการหายใจได้ในสภาพละอองฝอย จากการปั่นรอบสูง หรือเข้าทางผิวหนังที่มีบาดแผลและเยื่อเมือก จึงแนะนำให้ปฏิบัติ งานในห้องที่มีระบบรักษาความปลอดภัยป้องกันการติดเชื้ออย่างดีที่สุดสำหรับไข้เลือดออกจากเชื้อกลุ่มฮันตา และเชื้อตัวอื่น ยังไม่พบว่ามีการระบาดในประเทศไทย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง

Our News

News Two
HEAT STROKE โรคลมแดด

ทุกวันนี้อากาศร้อนจัดมากขึ้นทุกวันโดยเฉพาะบ้านเรา ทั้งร้อนและแดดจัด มีโรคที่มากับอากาศร้อนที่ควรระมัดระวัง ซึ่งเราอาจจะนึกไม่ถึงและมองข้ามไป..

May 5, 2014
News Two
H1N1 Influenza

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา..

May 5, 2014
More

Check price